อย. จับมือ จุฬาฯ และ Thai PBS ร่วมกันเผยแพร่ความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่านสื่อเสริมความเข้มแข็งแก่ผู้บริโภค

อย. จับมือ จุฬาฯ และ Thai PBS ร่วมกันเผยแพร่ความรู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่านสื่อเสริมความเข้มแข็งแก่ผู้บริโภค

อย. ร่วมกับ จุฬาฯ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่ความรู้และรณรงค์ส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค ผ่านสื่อ Thai PBS สื่อสาธารณะเพื่อประชาชน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้บริโภครู้เท่าทัน การบริโภคอย่างปลอดภัย

 

 

ันนี้ (8 สิงหาคม 2559) ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายกฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้อ านวยการองค์การ กระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อการเผยแพร่ความรู้และรณรงค์ส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เพื่อร่วมมือกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่าน ทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS

โดยทั้ง 3 หน่วยงานจะร่วมกันรณรงค์ส่งเสริม ผลักดัน และประสานความร่วมมือในการด าเนินการตาม นโยบายรัฐบาลและแนวทางการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ให้มีความปลอดภัยใน การบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นประโยชน์ และส่งเสริมปลุกจิตสำนึกของผู้บริโภคให้ตระหนักและรู้เท่าทันการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ อย่าง ปลอดภัย นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ภารกิจหนึ่งที่สำคัญของ อย. คือการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย ที่ใช้ในบ้านเรือน เป็นต้น โดยให้ความรู้และพัฒนาพฤติกรรมผู้บริโภค ผ่าน ช่องทางสื่อต่าง ๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และ Social media ซึ่งการร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Thai PBS จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง โดย อย. มีแผนการสื่อสารทั้งระยะสั้นและ ระยะยาวผ่านสื่อดังกล่าว เริ่มแรกเน้นให้ความรู้ เรื่อง น้ ามันทอดซ้ า ซึ่งยังคงพบปัญหาการใช้น้ ามันทอดซ้ า ในอาหารประเภททอดต่าง ๆ เช่น ปาท่องโก๋ ไก่ป๊อบทอด ปลาทอด ลูกชิ้นทอด ไส้กรอกทอด กล้วยทอด มันทอด เป็นต้น พบสารโพลาร์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และอาจมีผลท าให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งโรค หลอดเลือดและหัวใจ นอกจากคนกินจะเสี่ยงเป็นมะเร็งแล้ว คนขายก็เช่นกันเมื่อสูดดมไอระเหยของน้ ามันที่ เสื่อมสภาพเข้าไปก็เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้ ดังนั้น จึงได้มีกฏหมายก าหนดให้ผู้ผลิต น าเข้า หรือ จ าหน่ายน้ ามันส าหรับทอดหรือประกอบอาหารเพื่อจ าหน่ายที่มีสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 25 และผู้ที่ใช้ น้ ามันผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ต้องใช้น้ำมันที่มีสารโพลาร์ไม่เกินร้อยละ 25 และร่วมมือกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในการตรวจสอบเฝ้าระวังแหล่งผลิต /นำเข้า/ จำหน่าย น้ำมันที่ปรุงอาหาร มีการจัดอบรมให้ ความรู้แก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับน้ำมันทอดซ้้ำ และกระตุ้นให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งสื่อสารให้ ความรู้แก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังมีแผนการให้ความรู้เรื่อง ตู้น้ำหยอดเหรียญ ปัญหาที่พบคือตู้น้ำหยอด เหรียญมีคราบสกปรก หรือตั้งอยู่ในแหล่งไม่สะอาด น้ำดื่มอาจมีการปนเปื้อน ขาดการดูแลบำรุงรักษา อาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อผู้บริโภค ซึ่งในเรื่องดังกล่าว อย. ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียม ความพร้อมผู้ผลิตและผู้จ าหน่ายน้ำบริโภคจากตู้น้ าหยอดเหรียญให้ได้คุณภาพขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิต/จำหน่าย/ และเจ้าของตู้น้ำหยอดเหรียญ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐผู้เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีความรู้ ความเข้าใจ การดูแลบำรุงรักษาตู้น้ าหยอดเหรียญอย่างถูกต้อง สามารถผลิตน้ำดื่มที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัย และสามารถให้ค าปรึกษาในการก ากับดูแลกิจการตู้น้ำหยอดเหรียญได้และสร้างความรู้ความ เข้าใจแก่ประชาชน เพื่อการบริโภคน้ำในตู้น้ำหยอดเหรียญอย่างปลอดภัย

สำหรับแผนระยะยาวในลำดับต่อไป อย. จะเน้นในเรื่องของสีสังเคราะห์ในอาหาร คุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย ข้อควรระวังต่าง ๆ ยาแก้ไอ และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความสนใจและ ส่ง ผลกระทบต่อประชาชน และณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคต่อไป “อย. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทางด้านสื่อ นับเป็นช่องทางสำคัญ ในการเผยแพร่ความรู้ และเข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการติดอาวุธ ทางปัญญา สร้างภูมิคุ้มกันในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย” เลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด

---กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค 8 สิงหาคม 2559 แถลงข่าว 26 / ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559--- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 0 2 590 7117 , 7123 โทรสาร 0 2 591 8474 http://www.fda.moph.go.th/

Visitors: 68,327